การปฏิบัติ
- การทำวาระ
- นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว
- โงะฮนซน
การทำวาระ (ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียงว่า งนเงียว) หมายถึง การเพียรพยายามปฏิบัติ ดังนั้น การทำให้ไม่ให้ขาดในทุกๆ วัน จึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง สำหรับการทำวาระประจำทุกวันก็คือ สวดอ่านบทที่ 2 บทกุศโลบาย และบทที่ 16 บทหยั่งอายุกาลของพระตถาคตของสัทธรรมปุณฑริกสูตร พร้อมกับการสวดไดโมขุด้วยความเชื่อต่อโงะฮนซน
พระนิชิเร็นไดโชนินกล่าวว่า "จะต้องบังเกิดความศรัทธาอย่างลึกซึ้ง และจะต้องขัดทุกเช้าเย็นโดยไม่เกียจคร้านด้วย จะขัดอย่างไรหรือ ก็เฉาพะสวดนัมเมียวโฮเร็งเงเคียวเท่านั้น นี่คือที่เรียกว่าการขัดเกลา(ชีวิต)นั่นเอง" (ธรรมนิพนธ์เรื่องการบรรลุพุทธภาวะในหนึ่งชั่วชีวิต หน้า 384)
อ่านเพิ่มเติมคำว่า "นัม-เมียวโฮ-เร็งเง-เคียว" ภาษาสันสฤต คือ "นโมสัทธรรมปุณฑริกสูตร" มีคำแปลย่อ ๆ ดังนี้
- นัม
- นะโม » อุทิศชีวิต
- เมียวโฮ
- สัทธรรม » ธรรมมหัศจรรย์
- เร็งเง
- ปุณฑริก » ดอกบัว » เหตุและผลเกิดขึ้นพร้อมกัน
- เคียว
- สูตร » เสียงของสรรพสัตว์ » ความเกี่ยวโยงซึ่งกันและกันในทุก ๆ ระดับ
โงะฮนซน คือตัวตนของนัมเมียวโฮเร็งเงเคียวที่เป็นรูปธรรมที่ช่วยให้ประชาชนทุกคนสามารถบรรลุพุทธภาวะได้ เมื่อเราขยันขันแข็ง เอาจริงเอาจังในการวางรากฐานของชีวิตเราไว้กับโงะฮนซนแล้ว ปัญญาและพลังชีวิตก็จะพรั่งพรูออกมาและช่วยให้เราเข้าสู่จังหวะ แห่งชัยชนะที่ครบถ้วนและสมบูรณ์ได้
อาจารย์โจเซอิ โทดะ เคยกล่าวไว้ว่า “โงะฮนซนนั้นยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง แต่เพราะรูปลักษณ์แบบง่าย ๆ ธรรมดา จึงทำให้ประชาชนไม่เข้าใจถึงความยิ่งใหญ่ของโงะฮนซน” เพราะเหตุว่าธรรมนั้นลึกซึ้งและการปฏิบัติก็เป็นรูปแบบง่าย ๆ แท้ที่จริงแล้วยิ่งเทคโนโลยีก้าวหน้ามากมายเพียงใด เครื่องจักรก็ใช้ง่ายเพียงนั้น “โงะฮนซน คือเครื่องจักรที่ผลิตความสุข” และการกดปุ่มเดินเครื่องจักรนี้คือ การสวดไดโมขุ (นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว) เพื่อตัวเราเองและเพื่อผู้อื่น ซึ่งสามารถพูดได้ว่า พระนิชิเร็นไดโชนินได้กลั่นกรองพุทธธรรมลงจนเหลือเป็นรูปแบบที่ง่ายที่สุดเพื่อประชาชนทั้งมวล
อ่านเพิ่มเติม