แนวคิดทางพุทธศาสนา

  • ในชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปมาต่างๆ นานาในแต่ละชั่วขณะที่ว่านี้ถูกแบ่งออกเป็น 10 ชนิด และสิ่งที่ให้ความกระจ่างต่อเรื่องนี้ก็คือ หลักธรรม 10 โลกที่พุทธธรรมได้อธิบายไว้ ซึ่งจะทำให้มองเห็นถึงธาตุแท้ของการทำงานของชีวิต ที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอย่างแหลมคม

    หลักธรรม 10 โลกได้แบ่งปรากฏการณ์ของชีวิตหรือสภาพของชีวิตไว้ 10 ชนิด ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถมองเห็นได้และทุกๆ คนมีเหมือนๆ กัน โดยไม่เกี่ยวข้องว่าต้องมีความศรัทธาหรือไม่ นอกจากนี้หลักธรรม 10 โลกไม่ได้วินิจฉัยปรากฏการณ์ของชีวิตอย่างง่ายๆ เพียงเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่ทำให้ดึงเอาพลังที่ยอดเยี่ยมในชีวิตมนุษย์ที่มีอยู่แต่แรกเริ่มออกมา เป็นการสอนถึงการดำเนินชีวิตให้สมกับความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง และทำอย่างไรจึงจะดำเนินชีวิตได้อย่างดีเยี่ยม

    อ่านเพิ่มเติม
  • พระนิชิเร็นไดโชนินกล่าวว่า "ผู้ปฏิบัติสัทธรรมปุณฑริกสูตร หากบำเพ็ญเพียรตรงตามคำสอนแล้ว ในหนึ่งชั่วชีวิตนี้จะสามารถบรรลุพุทธภาวะได้อย่างแน่นอน โดยไม่มียกเว้นแม้แต่คนเดียว ดังตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ทำนาในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน แม้จะมีข้าวที่ได้ก่อนหรือหลังก็ตาม แต่ภายในหนึ่งปีจะสามารถเก็บเกี่ยวได้อย่างแน่นอน ผู้ปฏิบัติสัทธรรมปุณฑริกสูตรก็เช่นเดียวกัน แม้ว่าพื้นฐานชีวิตจะมีทั้งสูง กลาง ต่ำก็ตาม แต่ภายในหนึ่งชั่วชีวิตจะสามารถรู้แจ้งได้อย่างแน่นอน" (ปรัชญาธรรมหนึ่งขณะจิตสามพัน หน้า 416)

    กล่าวคือ หากรับและยึดถือโงะฮนซน พร้อมทั้งเพียรพยายามในการปฏิบัติเพื่อตนเองและเทศนาสั่งสอนเพื่อผู้อื่นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นบุคคลเช่นไร จะสามารถเข้าถึงสภาพชีวิตแห่งการบรรลุพุทธภาวะภายในหนึ่งชั่วชีวิตนี้ได้อย่างแน่นอน เรื่องนี้เรียกว่า "การบรรลุพุทธภาวะในหนึ่งชั่วชีวิต"

    อ่านเพิ่มเติม
  • ในคำนำของอาจารย์อิเคดะ ประธานเอสจีไอ ผู้ประพันธ์นวนิยายเรื่อง "การปฏิวัติมนุษย์" นั้น มีข้อความที่มีชื่อเสียงท่อนหนึ่งคือ "การปฏิวัติมนุษย์ที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตของบุคคลคนหนึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงชะตากรรมของประเทศ และชะตากรรมของมนุษยชาติได้"

    การปฏิวัติมนุษย์ซึ่งเป็นการเปลี่ยนสภาพ หรือการปฏิวัติมนุษย์ของเราในระดับพื้นฐานนั้น คือกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิต

    อ่านเพิ่มเติม
  • ในเวลาที่นึกถึงเรื่องสภาพชีวิตแห่งความสุข อาจารย์โทดะ นายกสมาคมคนที่ 2 เคยชี้นำว่า สำหรับความสุขแล้วมีด้วยกัน 2 ชนิด คือ ความสุขสัมพัทธ์กับความสุขสัมบูรณ์

    ที่เรียกว่า ความสุขสัมพัทธ์ หมายถึง สภาพที่พึงพอใจทางด้านวัตถุสิ่งของ หรือความอยากปรารถนาของเราได้รับการเติมเต็ม แต่สำหรับความอยากปรารถนานั้นก็ไม่มีขอบเขตจำกัด สมมติว่า ณ ช่วงเวลาหนึ่งจะดูเหมือนพอใจแล้วก็ตาม แต่ลักษณะเช่นนี้จะไม่ดำรงอยู่ตลอดไป

    ในทางตรงกันข้าม ที่เรียกว่า ความสุขสัมบูรณ์นั้น หมายถึง สภาพชีวิตที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน หรือไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เพียงแค่การได้มีชีวิตอยู่ก็มีความสุขถึงที่สุดแล้ว

    อ่านเพิ่มเติม
  • เกี่ยวกับเรื่องอุปสรรค 3 มาร 4 นั้น พระนิชิเร็นไดโชนินได้เทศนาไว้ (ในธรรมนิพนธ์เรื่องพี่น้อง หน้า 1088) ดังนี้ "ที่เรียกว่าอุปสรรค 3 มาร 4 นั้น ได้แก่ กิเลสอุปสรรค กรรมอุปสรรค และผลตอบสนองอุปสรรค กิเลสอุปสรรคก็คือสิ่งที่ขัดขวางอันเกิดจากความโลภ โกรธ หลง เป็นต้น กรรมอุปสรรคคือสิ่งขัดขวางอันเกิดจากภรรยาและบุตร เป็นต้น ผลตอบสนองอุปสรรคก็คือสิ่งขัดขวางอันเกิดจากผู้ปกครองบ้านเมือง บิดามารดา เป็นต้น และพญามารซึ่งอยู่ในมาร 4 นั้น ก็เช่นเดียวกัน"

    อ่านเพิ่มเติม
  • ในบทคาถา 20 บรรทัดของสัทธรรมปุณฑริกสูตรบทที่ 13 บทการชักชวนและยึดถือได้ชี้ไว้ว่า ศัตรูที่เข้มแข็ง 3 ชนิด ซึ่งเป็นผู้ที่ให้การกดขี่ข่มเหง 3 ชนิด จะปรากฏขึ้นในชีวิตของผู้ที่เผยแผ่สัทธรรมปุณฑริกสูตรในสมัยธรรมปลาย

    พระมหาธรรมาจารย์เมียวลัก (บุคคลในศตวรรษที่ 8 เป็นผู้ที่ฟื้นฟูนิกายเทียบไท้แห่งประเทศจีนในยุคกลาง) ได้กำหนดชื่อของศัตรูแต่ละชนิดว่า ชนิดที่ 1 คือฆราวาสที่ทนงตัวอวดดี ชนิดที่ 2 คือนักบวชที่ทนงตัวอวดดี ชนิดที่ 3 คือผู้สูงยศผู้ลุแก่อำนาจที่ทนงตัวอวดดี คำว่า "ทนงตัวอวดดี" ใช้เรียกผู้ที่คิดว่าตนเองเหนือกว่าคนอื่น ๆ เกิดความรู้สึกอวดดีว่าตนรู้แจ้งในธรรมที่เหนือกว่า (ดีกว่า)

    อ่านเพิ่มเติม
  • รากฐานการปฏิบัติบำเพ็ญเพียรในพุทธธรรมของพระนิชิเร็นไดโชนินที่มุ่งสู่การปฏิวัติชีวิตของตนเองนั้น คือหลัก 3 ข้อแห่ง "ศรัทธา ปฏิบัติ ศึกษา" การเชื่อในพุทธธรรมของพระนิชิเร็นไดโชนิน อันเป็นธรรมที่ถูกถ้วนแท้จริงของสมัยธรรมปลาย ก็คือ "การศรัทธา" การปฏิบัติอย่างถูกต้องก็คือ "การปฏิบัติ" และการใฝ่ศึกษาเรียนรู้ในคำสอนของธรรมดังกล่าวก็คือ "การศึกษา" ถ้าขาดแม้เพียงข้อใดข้อหนึ่งใน 3 ข้อนี้ ก็ไม่สามารถเป็นการบำเพ็ญเพียรพุทธมรรคที่ถูกต้องได้

    อ่านเพิ่มเติม
  • เปลี่ยนหนักให้ได้รับโดยเบา ก็คือ การเปลี่ยนเรื่องที่หนักให้ได้รับโดบเบา คำว่า "หนัก" ในที่นี้หมายถึงบาปกรรมหนักที่เราได้สั่งสมเอาไว้ตั้งแต่อดีตกาลอันยาวนาน เช่น หมิ่นประมาทธรรมที่ถูกถ้วนแท้จริง เป็นต้น

    ด้วยทฤษฏีธรรมของเหตุและผล บาปกรรมของการหมิ่นประมาทธรรมที่ทับถมมาตั้งแต่อดีตซึ่งถือเป็นเหตุ จะทำให้เกิดการตอบสนองเป็นผลในชีวิตของเราในปัจจุบัน ดังนั้นถ้าสั่งสมบาปกรรมหนักมา ก็จะได้รับการตอบสนองที่หนัก จึงเป็นกฏเกณฑ์ปกติ แต่การ "เปลี่ยนหนักให้ได้รับโดยเบา" ในที่นี้ก็หมายถึง การที่เราสามารถเปลี่ยนผลตอบสนองที่หนัก ซึ่งเดิมทีจะต้องได้รับเพียงแค่ชาตินี้ ยังข้ามไปถึงชาติหน้าได้ด้วยนั้น ให้ได้รับโดยเบาในชาตินี้ และลบล้างบาปกรรมนั้นให้หมดไปได้

    อ่านเพิ่มเติม
วารสารสู่ความสุข