โงะฮนซน
สิ่งสักการบูชา “โงะฮนซน” คืออะไร
- สิ่งบูชาที่แสดงสภาพชีวิตพุทธะ
- สิ่งสักการะบูชาเพื่อการเห็นแจ้งจิต
- ตัวตนของนัมเมียวโฮเร็งเงเคียวซึ่งเป็นธรรมมหัศจรรย์
คำอธิบายเพิ่มเติม
- โงะฮนซนคือสิ่งบูชาที่แสดงสภาพชีวิตพุทธะ
- พระนิชิเร็นไดโชนินได้แสดงชีวิตของตัวท่านเองซึ่งได้ปรากฏขึ้นมาในสมัยธรรมปลายในรูปของ โงะฮนซน ดังที่ท่านได้กล่าวไว้ว่า “ ชีวิตของอาตมานิชิเร็นได้ย้อมอยู่ในน้ำหมึกจีนและตัวอักษร ดังนั้น ขอให้เชื่อ ”
- โงะฮนซนคือสิ่งสักการะบูชาเพื่อการเห็นแจ้งจิต
- โงะฮนซนเป็นกระจกเงาที่ใสและชัดที่สุดในบรรดากระจกเงาทั้งหลาย ซึ่งสามารถสะท้อนส่วนลึกของชีวิตเราให้ปรากฏออกมาได้ การเห็นแจ้งจิตหมายถึงการเข้าใจรู้ได้ว่าชีวิตเรามีสิบโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีชีวิตพุทธะอยู่ในตัว เมื่อเราสวดมนต์ต่อโงะฮนซนเราก็จะสามารถเข้าใจถึงตัวตนที่แท้จริงของชีวิตได้ และสามารถดึงเอาพลังชีวิตแห่งพุทธะออกมาได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
- “สิ่งสักการะบูชาแห่งการเห็นแจ้งจิต” จึงเป็นสิ่งสักการะบูชาที่มีเพื่อให้ประชาชนแห่งสิบโลกเห็นแจ้งว่า ตัวเองก็คือตัวตนแท้จริงของธรรมมหัศจรรย์และบรรลุพุทธภาวะได้
- โงะฮนซนก็คือตัวตนของนัมเมียวโฮเร็งเงเคียวซึ่งเป็นธรรมมหัศจรรย์
โ
งะฮนซน คือตัวตนของนัมเมียวโฮเร็งเงเคียวที่เป็นรูปธรรมที่ช่วยให้ประชาชนทุกคนสามารถบรรลุพุทธภาวะได้ เมื่อเราขยันขันแข็ง เอาจริงเอาจังในการวางรากฐานของชีวิตเราไว้กับโงะฮนซนแล้ว ปัญญาและพลังชีวิตก็จะพรั่งพรูออกมาและช่วยให้เราเข้าสู่จังหวะ แห่งชัยชนะที่ครบถ้วนและสมบูรณ์ได้อาจารย์โจเซอิ โทดะ เคยกล่าวไว้ว่า “โงะฮนซนนั้นยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง แต่เพราะรูปลักษณ์แบบง่าย ๆ ธรรมดา จึงทำให้ประชาชนไม่เข้าใจถึงความยิ่งใหญ่ของโงะฮนซน” เพราะเหตุว่าธรรมนั้นลึกซึ้งและการปฏิบัติก็เป็นรูปแบบง่าย ๆ แท้ที่จริงแล้วยิ่งเทคโนโลยีก้าวหน้ามากมายเพียงใด เครื่องจักรก็ใช้ง่ายเพียงนั้น “โงะฮนซน คือเครื่องจักรที่ผลิตความสุข” และการกดปุ่มเดินเครื่องจักรนี้คือ การสวดไดโมขุ (นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว) เพื่อตัวเราเองและเพื่อผู้อื่น ซึ่งสามารถพูดได้ว่า พระนิชิเร็นไดโชนินได้กลั่นกรองพุทธธรรมลงจนเหลือเป็นรูปแบบที่ง่ายที่สุดเพื่อประชาชนทั้งมวล
เราสามารถเข้าใจรู้ถึง “สัทธรรมปุณฑริกสูตรแห่งสมัยธรรมปลาย” ซึ่งหมายถึง “นัม-เมียวโฮ-เร็งเง-เคียว” และรู้ถึงพุทธธรรมคำสอนของพระนิชิเร็นไดโชนินทั้งหมด สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ก็มาจากการศึกษา “ธรรมนิพนธ์” และ “คำชี้นำของอาจารย์อิเคดะ” นั่นเอง